งาน3 ในสถานที่ฝึกงานของ นศ มีกิจกรรมควบคุมความเสี่ยงอย่างไร
องค์ประกอบรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดท ารายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการ โรงงาน ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของโรงงาน2. แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงาน รวมทั้งสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่พักอาศัย โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา เส้นทางจราจร และชุมชนใกล้เคียง ในระยะ 500 เมตร โดยรอบ
3. แผนผังรวมที่แสดงต าแหน่งของโรงงาน ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น การเกิด เพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ในกรณีที่มีหลายโรงงานอยู่ในบริเวณเดียวกัน
4. แผนผังโรงงานขนาดมาตราส่วน 1 : 100 หรือขนาดที่เหมาะสม แสดงรายละเอียดการ ติดตั้ง เครื่องจักร สถานที่เก็บวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ ที่พักคนงาน โรงอาหาร อุปกรณ์และเครื่องมือเกี่ยวกับความปลอดภัย และสิ่งอื่น ๆ ที่มีความส าคัญต่อการ เกิด การป้องกัน หรือการควบคุมเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย (กรณีผู้ประกอบกิจการขออนุญาตขยายโรงงานจะต้องระบุรายละเอียดเครื่องจักร และกระบวนการ ผลิตในส่วนขยายให้ชัดเจนด้วย)
5. จ านวนผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน วันท างาน และการจัดช่วงเวลาในการท างาน จ านวนกะ
6. ข้อมูลอื่น ๆ เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การสอบสวนอุบัติเหตุ
7. ชื่อ-นามสกุล ต าแหน่ง วุฒิการศึกษาผู้ท าการชี้บ่งอันตราย อย่างน้อย 3 ท่าน
8. ขั้นตอนกระบวนการผลิตพร้อมแผนภูมิกระบวนการผลิต รวมทั้งระบุรายละเอียดของ อุณหภูมิความดัน ชนิดและปริมาณวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอย ได้เฉลี่ยต่อปี
9. บัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย
10. การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
11. การจัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (แผนงานควบคุมความเสี่ยง/ แผนงานลด ความเสี่ยง) 12. บทสรุปผลการศึกษา วิเคราะห์และทบทวนการด าเนินงาน ที่มีความเสี่ยงภายในโรงงาน 13. จัดท าแผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ และหรือสารเคมีรั่วไหล (กรณีมีการใช้สารเคมีอันตราย)
รายละเอียดองค์ประกอบของรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง
1. ข้อมูลทั่วไปของโรงงาน ให้ระบุรายละเอียด ดังนี้ - ชื่อโรงงาน/บริษัท - การประกอบกิจการโรงงาน - ทะเบียนโรงงานเลขที่ - สถานที่ตั้งโรงงาน โทรศัพท์ โทรสาร - วัตถุประสงค์การส่งรายงาน (ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือใบอนุญาต ขยายโรงงาน หรือขอต่ออายุใบอนุญาต หรือครบ 5 ปี นับแต่ปีถัดจากปีที่ยื่นครั้งก่อน (ส าหรับโรงงานใน เขตประกอบการ) หรือแก้ไขรายงาน) - ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ผู้ประสานงานเรื่องการจัดท ารายงานวิเคราะห์ ความเสี่ยงของโรงงาน
2. แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงาน รวมทั้งสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่พักอาศัย โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา เส้นทางจราจร และชุมชนใกล้เคียง ในระยะ 500 เมตร โดยรอบ ให้จัดท าแผนที่ตั้งโรงงาน รวมทั้งสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พักอาศัย โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา เส้นทางจราจร และชุมชนใกล้เคียง ในระยะ 500 เมตร โดยรอบ (โดยให้ขีดเส้นวงกลม ล้อมรอบโรงงาน ในรัศมี 500 เมตร จากรั้วโรงงาน พร้อมระบุสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่รอบโรงงานในรัศมี 500 เมตร ภายในวงกลม) แสดงทิศที่ตั้งของโรงงาน (ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้) กรณีเป็น พื้นที่ว่างให้ระบุด้วย (ต้องสามารถอ่านออกได้ชัดเจน)
3. แผนผังรวมที่แสดงต าแหน่งของโรงงาน ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ในกรณีที่มีหลายโรงงานอยู่ในบริเวณเดียวกัน กรณีที่มีหลายโรงงานอยู่ในบริเวณเดียวกันให้จัดท าแผนผังรวมที่แสดงต าแหน่งของโรงงานที่ อยู่ในบริเวณเดียวกัน
4. แผนผังโรงงานขนาดมาตราส่วน 1 : 100 หรือขนาดที่เหมาะสม แสดงรายละเอียดการติดตั้ง เครื่องจักร สถานที่เก็บวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ ที่พักคนงาน โรงอาหาร อุปกรณ์และเครื่องมือเกี่ยวกับความปลอดภัย และสิ่งอื่น ๆ ที่มีความส าคัญต่อ การเกิด การป้องกัน หรือการควบคุมเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย ให้จัดท าแผนผังโรงงานขนาดมาตราส่วน 1 : 100 หรือขนาดที่เหมาะสมประกอบด้วย (1) แผนผังบริเวณโรงงานแสดงรายละเอียดการติดตั้ง เครื่องจักร สถานที่เก็บวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ ที่พักคนงาน โรงอาหาร อุปกรณ์และ เครื่องมือเกี่ยวกับความปลอดภัย และสิ่งอื่น ๆ ที่มีความส าคัญต่อการเกิด การป้องกัน หรือการควบคุม เพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย (2) แผนผังแสดงรายละเอียดอาคาร หรือสถานที่ที่จัดเก็บวัตถุดิบ สารเคมี และผลิตภัณฑ์ (3) แผนผังแสดงรายละเอียดการติดตั้งเครื่องจักรภายในอาคารผลิตแต่ละอาคาร (กรณีมี หลายอาคาร และกรณีมีหลายชั้นให้แสดงรายละเอียดในแต่ละชั้นด้วย) กรณีเป็นรหัสอุปกรณ์ เครื่องจักร สัญญลักษณ์ให้ระบุรายละเอียดด้วย
5. ขั้นตอนกระบวนการผลิตพร้อมแผนภูมิกระบวนการผลิต รวมทั้งระบุรายละเอียดของ ความดัน อุณหภูมิ ชนิดและปริมาณวัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์ และ วัตถุพลอยได้เฉลี่ยต่อปี (ให้จัดท ากระบวนการผลิตของทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์) ให้จัดท าขั้นตอนกระบวนการผลิตพร้อมแผนภูมิกระบวนการผลิต (1) Block flow diagram หรือ Process flow diagram ของกระบวนการผลิตของ ผลิตภัณฑ์ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ (2) ค าอธิบายรายละเอียดตาม Block flow diagram หรือ Process flow diagram รวมทั้งระบุรายละเอียดของความดัน อุณหภูมิ เชื้อเพลิง วัตถุดิบและสารเคมีที่ใช้ (3) ให้ระบุปริมาณการใช้และการจัดเก็บวัตถุดิบ สารเคมี และผลิตภัณฑ์สูงสุดต่อครั้ง และ การใช้ การผลิตต่อปี พร้อมทั้งระบุลักษณะ ขนาด และจ านวนภาชนะบรรจุ รวมทั้งลักษณะการจัดเก็บ
6. จ านวนผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน วันท างาน และการจัดช่วงเวลาในการท างาน จ านวนกะ ให้ระบุจ านวนผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน วันท างาน และการจัดช่วงเวลาในการท างาน จ านวนกะ
7. ข้อมูลอื่น ๆ เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การสอบสวนอุบัติเหตุ หรือ รายงานการตรวจประเมินความปลอดภัย เป็นต้น ให้จัดท าข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ โดยเน้นการเกิดไฟไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของ สารเคมี ของโรงงานย้อนหลัง 5 ปี กรณีปีไหนไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ ให้ระบุว่าไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้ง อาจจัดท ารายงานการตรวจประเมินความปลอดภัยด้วย
8. ชื่อ-นามสกุล ต าแหน่ง วุฒิการศึกษาผู้ท าการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ท่าน ให้ระบุชื่อผู้ท าการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง อย่างน้อย 3 คน ที่มีคุณสมบัติ อย่างน้อย ดังนี้ (1) มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ โรงงาน เช่น เทคโนโลยีการผลิต กระบวนการผลิต การซ่อมบ ารุง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และวัตถุพลอยได้ เป็นต้น (2) มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างาน (3) มีความรู้ ความเข้าใจในการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการบริหารจัดการ ความเสี่ยง
9. บัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย ให้จัดท าบัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย โดยให้แจกแจงการด าเนินงานทั้งหมด ในโรงงานให้ครบถ้วน ตั้งแต่กระบวนการรับและการจัดเก็บวัตถุดิบและสารเคมี การเตรียมวัตถุดิบและสารเคมี ขั้นตอนการผลิต การบรรจุ การจัดเก็บผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกระบวนการสนับสนุน เช่น ระบบไฟฟ้า การ ซ่อมบ ารุง ตามแบบฟอร์มที่ก าหนดตามระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง โดยในแบบฟอร์มบัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย ช่องแรก การด าเนินงานในโรงงาน ให้ระบุขั้นตอนการผลิตทุกขั้นตอน และทุกผลิตภัณฑ์ (ตาม Block flow diagram หรือ Process flow diagram) โดยเรียงล าดับตามขั้นตอนตั้งแต่ กระบวนการรับและการจัดเก็บวัตถุดิบและสารเคมี (โดยอาจแบ่งเป็นกลุ่มไวไฟ กลุ่มกัดกร่อน กลุ่มเป็นพิษ) การเตรียมวัตถุดิบและสารเคมี ขั้นตอนการผลิต การจัดเก็บผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกระบวนการสนับสนุน เช่น ระบบไฟฟ้า การซ่อมบ ารุง ช่องสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย ให้ระบุสภาวะหรือการกระท าที่อาจก่อให้เกิดการ บาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยจากการท างาน ความเสียหายต่อบุคคล ชุมชน สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สิน ช่องผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคคล ชุมชน สิ่งแวดล้อม และ ทรัพย์สิน
10. การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง ให้ท าการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง ดังนี้ 10.1 การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) หมายถึง การแจกแจงอันตรายต่างๆ ที่มี และที่แอบแฝงอยู่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการทุกขั้นตอนตั้งแต่การรับจ่าย การเก็บ การขนถ่าย หรือขนย้าย การใช้การขนส่ง วัตถุดิบ เชื้อเพลิง สารเคมีหรือวัตถุอันตราย ผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้ กระบวนการผลิต วิธีการปฏิบัติงาน เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต และกิจกรรมหรือสภาพการณ์ ต่าง ๆ ภายในโรงงาน เป็นต้น การชี้บ่งอันตรายให้น ากิจกรรมในช่องการด าเนินงานในโรงงานตามบัญชีรายการสิ่งที่เป็น ความเสี่ยงและอันตรายทุกกิจกรรมมาท าการชี้บ่งอันตราย โดยแจกแจงสิ่งที่เป็นอันตรายให้ครอบคลุมทุก ประเด็นของอันตรายจากการด าเนินงานที่ระบุไว้ในบัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยง (โดยเฉพาะกิจกรรมที่ อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น สารเคมีหกรั่วไหล ไฟไหม้ ระเบิด เป็นต้น) การชี้บ่งอันตรายอาจเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีที่เหมาะสมตามลักษณะการ ประกอบกิจการหรือลักษณะความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ดังต่อไปนี้ (1) Checklist เป็นวิธีที่ใช้ในการชี้บ่งอันตรายโดยการน าแบบตรวจไปใช้ในการตรวจสอบ การด าเนินงานในโรงงานเพื่อค้นหาอันตราย แบบตรวจประกอบด้วยหัวข้อค าถามที่เกี่ยวข้องกับการ ด าเนินงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการออกแบบ มาตรฐานการปฏิบัติงานหรือ กฎหมาย เพื่อน าผลจากการตรวจสอบมาท าการชี้บ่งอันตราย (2) WHAT - IF Analysis เป็นกระบวนการในการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนเพื่อชี้บ่ง อันตรายในการด าเนินงานต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยการใช้ค าถาม “จะเกิดอะไรขึ้น...ถ้า....” (What If) และหาค าตอบในค าถามเหล่านั้นเพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการด าเนินงานในโรงงาน (3) Hazard and Operability Studied (HAZOP) ) เป็นเทคนิคการศึกษา วิเคราะห์และ ทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการด าเนินงานโรงงาน โดยการวิเคราะห์หา อันตรายและปัญหาของระบบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการออกแบบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ ตั้งใจด้วยการตั้งค าถามที่สมมติสถานการณ์ของการผลิตในภาวะต่าง ๆ โดยการใช้ HAZOP Guide Words มา ประกอบกับปัจจัยการผลิตที่ได้ออกแบบไว้ หรือความบกพร่องและความผิดปกติในการท างาน เช่น อัตรา การไหล อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น เพื่อน ามาชี้บ่งอันตรายหรือค้นหาปัญหาในกระบวนการผลิตซึ่งอาจท า ให้เกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงขึ้นได้ (4) Fault - Tree Analysis (FTA) เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่เน้นถึงอุบัติเหตุหรือ อุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อน าไปวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดเหตุ ซึ่งเป็นเทคนิค ในการคิดย้อนกลับที่อาศัยหลักการทางตรรกวิทยาในการใช้หลักการเหตุและผล เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ ของการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรง โดยเริ่มวิเคราะห์จากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือ คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อพิจารณาหาเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นก่อนแล้วน ามาแจกแจงขั้นตอนการเกิดเหตุการณ์ แรกว่ามาจากเหตุการณ์ย่อยอะไรได้บ้าง และเหตุการณ์ย่อยเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร การสิ้นสุดการวิเคราะห์ เมื่อพบว่าสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ย่อยเป็นผลเนื่องจากความบกพร่องของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือความ ผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน (5) Failure Modes and Effects Analysis (FMEA) เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่ใช้ การวิเคราะห์ในรูปแบบความล้มเหลวและผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องจักรอุปกรณ์ ในแต่ละส่วนของระบบแล้วน ามาวิเคราะห์หาผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความล้มเหลวของเครื่องจักรอุปกรณ์
(6) Event - Tree Analysis เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อวิเคราะห์และประเมินหา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุการณ์แรกขึ้น (Initiating Event) ซึ่งเป็นการคิดเพื่อคาดการณ์ ล่วงหน้าเพื่อวิเคราะห์หาผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้น เมื่อเครื่องจักรอุปกรณ์เสียหายหรือคนท างานผิดพลาด เพื่อให้ทราบสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด รวมทั้งเป็นการตรวจสอบว่า ระบบความปลอดภัยที่มีอยู่มีปัญหาหรือไม่อย่างไร (7) มอก. 18001 หรือวิธีการอื่นใดที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ การเลือกวิธีการชี้บ่งอันตรายต้องเหมาะสมกับการประกอบกิจการ พร้อมทั้งด าเนินการ ชี้บ่งอันตรายตามหลักเกณฑ์ของวิธีที่เลือกใช้ให้ถูกต้อง ตามแบบฟอร์มที่ก าหนดในระเบียบกรมโรงงาน อุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดท าแผนงานบริหาร จัดการความเสี่ยง โดยมีข้อแนะน าในการด าเนินการดังนี้ (1) สามารถเลือกใช้วิธีการชี้บ่งอันตรายที่เหมาะสมได้มากกว่าหนึ่งวิธี (2) กรณีที่ใช้วิธีการชี้บ่งอันตรายตาม มอก.18001 ให้ชี้บ่งอันตรายเพิ่มเติมในส่วนของ เครื่องจักรอุปกรณ์ ระบบไฟฟ้า และกิจกรรมสนับสนุนกระบวนการผลิต เช่น พลังงานความร้อน พลังงาน ไฟฟ้า การซ่อมบ ารุง เป็นต้น ด้วยวิธีที่เหมาะสมตามที่กฎหมายก าหนด (3) กรณีใช้วิธีชี้บ่งอันตรายโดยวิธี Checklist ต้องก าหนดกิจกรรมการด าเนินงานในโรงงาน ที่จะตรวจสอบความปลอดภัย จัดท าแบบตรวจเพื่อใช้ส าหรับการตรวจสอบความปลอดภัย โดยพิจารณาจาก กฎหมาย มาตรฐานการออกแบบ หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน น าแบบตรวจไปใช้ตรวจสอบความปลอดภัย ในการด าเนินงานในโรงงาน จากนั้นน าผลการตรวจสอบมาชี้บ่งอันตรายเพื่อหาแนวโน้มของอันตรายที่อาจ เกิดขึ้นจากพื้นที่การท างาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และกิจกรรมต่าง ๆตามแบบผลการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนการด าเนินงานในโรงงานเพื่อการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี Checklist (4) กรณีที่เป็นระบบ ท่อ ถัง วาล์ว ควรใช้วิธี HAZOP พร้อมทั้งแนบ P&ID diagram ของจุด ที่ศึกษาด้วย (5) กรณีใช้วิธี FMEA ให้แนบรายละเอียดองค์ประกอบของเครื่องจักร อุปกรณ์ ระบบไฟฟ้า ที่ท าการศึกษาวิเคราะห์ (6) หากไม่ใช้วิธีการชี้บ่งอันตรายตามที่กฎหมายก าหนด ต้องขอความเห็นชอบจาก กรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน 10.2 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัยหรือ สภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุท าให้อันตรายที่มีและที่แอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและอาจก่อให้เกิด เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เช่น การเกิดเพลิงไหม้การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตราย เป็นต้น โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือ ความเสียหายแก่บุคคล ชุมชน สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สิน (1) การพิจารณาระดับโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ การพิจารณาโอกาส แบ่งออกเป็น 4 ระดับโดยพิจารณาได้จากสถิติการเกิดเหตุการณ์ สิ่งที่เป็นความเสี่ยงนั้นในอดีต และพิจารณาจากมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายที่โรงงานด าเนินการ อยู่ในปัจจุบัน ถ้าเป็นมาตรการที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเป็นมาตรการที่สามารถแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ โดยตรงและมีมาตรการที่เพียงพอ จึงสามารถพิจารณาโอกาสว่าเกิดน้อยได้
11. การจัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (แผนงานควบคุมความเสี่ยง/ แผนงานลด ความเสี่ยง) แผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง หมายถึงแผนงานลดความเสี่ยง และแผนงานควบคุมความเสี่ยง ซึ่งผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องด าเนินการจัดท าแผนงานเพื่อก าหนดมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการลดและควบคุมความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ให้จัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (แผนงานควบคุมความเสี่ยงและแผนงาน ลดความเสี่ยง) ดังนี้ (1) แผนงานควบคุมความเสี่ยง กรณีประเมินความเสี่ยงแล้วได้ ระดับความเสี่ยง 2 ต้องจัดท า แผนงานควบคุมความเสี่ยง โดยให้น า มาตรการป้องกันและควบคุมอันตราย ที่ระบุใน ตารางการชี้บ่งอันตราย มาจัดท าแผนงาน ควบคุมความเสี่ยง โดยน ามาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายของทุกข้อที่ได้ระดับความเสี่ยง 2 มา จัดท าแผนงานควบคุมความเสี่ยง โดยระบุลงในช่อง “มาตรการหรือกิจกรรมหรือการด าเนินการเพื่อลด ความเสี่ยงหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นความเสี่ยง” และก าหนดหัวข้อเรื่องที่ควบคุม และหลักเกณฑ์หรือ มาตรฐานที่ใช้ควบคุม ก าหนดผู้รับผิดชอบและผู้ตรวจติดตาม (ต้องไม่ใช่บุคคลหรือหน่วยงานเดียวกัน) การจัดท าแผนงานควบคุมความเสี่ยงจะต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม แสดงดังตารางที่ 11 (2) แผนงานลดความเสี่ยง กรณีประเมินความเสี่ยงแล้วได้ระดับความเสี่ยง 3 และ 4 ต้องจัดท าแผนงานลดความเสี่ยง ส าหรับการจัดท าแผนงานลดความเสี่ยง ให้น าข้อเสนอแนะ ที่ระบุในตารางการชี้บ่งอันตราย มาจัดท า แผนงานลดความเสี่ยง โดยน าข้อเสนอแนะของทุกข้อที่ได้ระดับความเสี่ยง 3 และ 4 มาจัดท าแผนงานลด ความเสี่ยง โดยระบุลงในช่อง “มาตรการ/กิจกรรม/การด าเนินงานลดความเสี่ยง” และก าหนดระยะเวลา ด าเนินการ (โดยให้ระบุเป็นวัน เดือน ปี ที่แน่นอนที่จะด าเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จ) พร้อมก าหนด ผู้รับผิดชอบและผู้ตรวจติดตาม (ซึ่งต้องไม่ใช่บุคคลหรือหน่วยงานเดียวกัน) เมื่อจัดท าแผนงานลด ความเสี่ยงด าเนินการเรียบร้อยแล้วให้น าแผนงานลดความเสี่ยงมาจัดท าเป็นแผนงานควบคุมความเสี่ยง ต่อไป
12. บทสรุปผลการศึกษา วิเคราะห์และทบทวนการด าเนินงาน ที่มีความเสี่ยงภายในโรงงาน ให้จัดท าบทสรุปการศึกษาต้องมีทะเบียนความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วยสาระส าคัญอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ - สรุปกิจกรรมหรือขั้นตอนที่ก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง โดยให้ระบุลักษณะของการเกิด อุบัติภัยร้ายแรงตามกิจกรรมหรือขั้นตอนด้วย - สรุปความเสี่ยงระดับ 2 และ3 พร้อมทั้ง มาตรการป้องกันและควบคุมที่มีอยู่เดิม และที่จะจัดท าเพิ่มเติม จากการด าเนินการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงของ บริษัท.................................จ ากัด พบว่ามีจุดวิกฤต หรืออุปกรณ์ที่มีความวิกฤตที่อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น ไฟไหม้ สารเคมีหกรั่วไหล หรือระเบิดได้ เช่น
1. ................................................................................................................. .............
2. ......................................................................................................................... .....
3. ....................................................................................................... .......................
4. ............................................................................................................................. .
5. .............................................................................................................................. ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดท าแผนบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ บริษัทฯ จะปฏิบัติ ตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ดังสรุปผลระดับความเสี่ยงที่ได้ และแผนบริหารจัดการ ความเสี่ยง ดังนี้
1. ระดับความเสี่ยงสูง ................ รายการ
2. ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ................ รายการ
3. ระดับความเสี่ยงเล็กน้อย ................ รายการ และจัดท าแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ดังนี้
1. แผนงานลดความเสี่ยง ................ แผน
2. แผนงานควบคุมความเสี่ยง ................ แผน
13. จัดท าแผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ และหรือสารเคมีรั่วไหล (กรณีมีการใช้สารเคมีอันตราย) ให้จัดท าแผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ และหรือสารเคมีรั่วไหล ส าหรับแผนฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ ควรประกอบด้วยแผนการตรวจสอบความปลอดภัยด้าน อัคคีภัย แผนการอบรมเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนการดับเพลิง และแผนการอพยพหนีไฟ ทั้งนี้ให้ระบุแหล่งรองรับน้ าจากการดับเพลิงกรณีเกิดไฟไหม้ เพื่อไม่ให้น้ าจากการดับเพลิงที่ปนเปือน สารเคมีลงสู่แหล่งน้ าสาธารณะ หมายเหตุ: การใช้แบบฟอร์มในการจัดท าบัญชีรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย การชี้บ่งอันตราย ด้วยวิธีต่างๆ การจัดท าแผนงานควบคุมความเสี่ยงและแผนงานลดความเสี่ยง ให้ใช้แบบฟอร์มตามที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรมก าหนดใน “ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดท าแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น